ระบบเศรษฐกิจ
1 การเกษตร
ตำบลชากไทย มีพื้นที่กว้างและอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำการเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการทำสวนผลไม้ เช่น สวนเงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง ลางสาด สวนยางพารา และในปัจจุบันมีการปลูกปาล์มน้ำมันในบางพื้นที่ ลักษณะการทำสวนผลไม้เป็นการทำสวนแบบผสมผสาน โดยดูได้จากร้อยละของประชากรจำแนกตามการประกอบอาชีพตามตาราง ดังต่อไปนี้

2 การประมง
ในเขตเทศบาลตำบลชากไทยไม่ได้ทำการประมงเป็นอาชีพ.
3 การปศุสัตว์
เป็นการประกอบการเลี้ยงในครัวเรือน เป็นอาชีพเสริม 4 การบริการ
– สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดเล็ก จำนวน 6 แห่ง (ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 2,5,6,7)
– สถานีบริการน้ำมันขนาดใหญ่ จำนวน 2 แห่ง (ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 7)
– สหกรณ์การเกษตร จำนวน 1 แห่ง (ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 7)
– สถานที่รับซื้อผลผลิตทางการเกษตร จำนวน ๑ แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ 7)
– ตลาดนัด จำนวน 1 แห่ง (อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 5)
5 การท่องเที่ยว
ในตำบลชากไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในพื้นที่ ประกอบด้วย
1. แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ คือ ที่สาธารณะหุ่งเหียงซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
2. แหล่งท่องเที่ยวทางศาสนา ได้แก่ ศาลเจ้าพ่อหินซ้อน นมัสการหลวงพ่อเพ็ชรวัดชากไทย และหลวงพ่อใหญ่วัดเนินมะหาด ซึ่งถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ยึดเหนี่ยวของประชาชนในตำบลชากไทย และประชาชนทั่วไป
6 อุตสาหกรรม
ปัจจุบันตำบลชากไทย ได้ดำเนินการก่อสร้างโรงแปรรูปผลไม้และผลิตผลทางการเกษตร จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณที่สาธารณประโยชน์ทุ่งเหียง หมู่ที่ 4 สำหรับเป็นที่รองรับผลผลิตทางการเกษตรของประชาชนในพื้นที่ ถือเป็นการสร้างอาชีพเสริม และเพิ่มรายได้ให้ประชาชนโดยอยู่ระหว่างการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานดังกล่าว
7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การพาณิชย์
– สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดเล็ก จำนวน 6 แห่ง (ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 2,5,6,7)
– สถานีบริการน้ำมันขนาดใหญ่ จำนวน 2 แห่ง (ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 7)
– สหกรณ์การเกษตร จำนวน 1 แห่ง (ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 7)
– สถานที่รับซื้อผลผลิตทางการเกษตร จำนวน ๑ แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ 7)
– ตลาดนัด จำนวน 1 แห่ง (อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 5)
กลุ่มอาชีพ
– กลุ่มคิชฌกูฏบาติก
– กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงผึ้ง อำเภอเขาคิชฌกูฏ
– กลุ่มสมุนไพรบ้านบัวหลวง
– กลุ่มผลิตภัณฑ์รีไซเคิ้ลจากวัสดุเหลือใช้
– กลุ่มโครงการธุรกิจครบวงจร ประกอบด้วย กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มของชำร่วย กลุ่มดอกไม้จันท์ กลุ่มผูกผ้าในพิธีต่างๆ และกลุ่มดอกไม้สดในพิธีต่างๆ
8 แรงงาน
เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ในตำบลชากไทยประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำสวนผลไม้ แรงงานจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ แรงงานวัยทำงานในพื้นที่ และแรงงานต่างด้าว ส่วนเยาวชนวัยทำงานในตำบลชากไทยเมื่อเรียนจบจะออกไปทำงานนอกพื้นที่ ทำให้แรงงานที่ใช้ในการทำสวนผลไม้เป็นแรงงานต่างด้าว จากข้อมูล ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2559 พบว่าตำบลชากไทยมีแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียน จำนวน 3 สัญชาติ ได้แก่ กัมพูชา จำนวน 147 ราย พม่า จำนวน 13 ราย และลาว จำนวน 101 คน